วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เกรด

<!DOCTYPE html PUBLIC "-//W3C//DTD XHTML 1.0 Transitional//EN" "http://www.w3.org/TR/xhtml1/DTD/xhtml1-transitional.dtd">
<html xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml">
<head>
<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8" />
<title>Untitled Document</title>
</head>

<body>
<?php
$score=96;
if($score<50)
{echo'grade 0';}
else if($score<56)
{echo 'grade1';}
else if($score<60)
{echo 'grade1.5';}
else if($score<66)
{echo 'grade2';}
else if($score<70)
{echo 'grade2.5';}
else if($score<76)
{echo 'grade3';}
else if($score<80)
{echo 'grade3.5';}
else if($score<100)
{echo 'grade4';}
?>
</body>
</html>

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

              ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่นำลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
              ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า
 "ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่" เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยว กับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่การจะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร
              ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง
โดยกิจการใดที่กลไกราคาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐก็จะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ  หรือใช้ระบบการแข่งขัน 
              ระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ถือว่าได้รวมเอาข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้ามาไว้ด้วยกัน เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความคล่องตัว เพราะใช้ระบบกลไกของรัฐร่วมกับกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากร           
             สรุปก็คือระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ระบบกลไกราคาหรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกของรัฐในการจัดสรรทรัพยากร

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้

  1. เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด  กระจายสินค้าและบริการไปสู่ใครอย่างไรบ้าง  ซึ่งต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
  2. ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนไม่ได้อยู่ในฐานะที่เหมาะสมจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุนหรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ  เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น
  3. ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการแทรกแซงเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มี เสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
  4. รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ   

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

สมมุติว่าเราเป็นทะเล...

ตอนอ่านหนังสือเรื่อง I sea you จบ... มันซึ้งจริงๆ...
เรื่องราวยังไม่จบดี หน้าสุดท้ายในหนังสือ...ปีเตอร์ (ฉันเชื่อว่าปีเตอร์ต้องเป็นพระเอกแน่ๆ -*-) กับทะเล (แน่นอน.. ฉันจะเรียกทะเลว่านางเอก -*-) เพิ่งได้เจอกันเอง ไม่ใช่... ทะเลเพิ่งจำปีเตอร์ได้เอง

แปลกเนอะ... ทั้งๆที่ทะเลรอคอยที่จะได้เจอปีเตอร์อีก ทั้งที่รอมานานขนาดนั้น ทำไมทะเลถึงจำปีเตอร์ไม่ได้.. ฉันประทับใจความผูกพันในวัยเด็กของทั้งสอง แม้จะเป็นความทรงจำเพียงช่วงเวลาหนึ่ง แต่ทะเลก็ยังจดจำและเฝ้ารอการกลับมาของปีเตอร์เสมอ

ทั้งที่รอ...
ทั้งที่อยากเจอ...
ทั้งที่อยากเห็นหน้าเขา...

...แต่ทำไม พอได้เจอ เธอถึงจำเขาไม่ได้
ฉันเชื่อว่าคนอ่านทุกคนต้องเกิดคำถามแบบเดียวกับฉัน
แต่ฉันไม่คิดหรอกว่าทะเลจะเลือกใคร ฉันแค่สะท้อนใจนิดหน่อยตอนเห็นแววตาของปีเตอร์
และยิ่งอยากร้องไห้ขึ้นไปอีกตอนปีเตอร์พูดว่า "จำเราได้ด้วยเหรอ"

T________T เศร้านะ...
เขาอาจจะคิดว่าทะเลกำลังรอเขาอยู่ก็ได้ เขาอาจอยากรู้ว่าถ้าได้เจอกันอีก ทะเลจะเป็นยังไง เหมือนกับที่ทะเลอยากรู้นั่นแหละว่า...ปีเตอร์จะเป็นยังไง

ฉันรู้สึกดีที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ รู้สึกดีที่ได้เห็นว่าปีเตอร์ยังจำทะเลได้
รู้สึกดีที่ปีเตอร์รักษาสัญญา...ว่าจะกลับมาอีก
รู้สึกดีที่ปีเตอร์ยังพูดภาษาไทยได้คล่องปลื้ดดดด (อันนี้ไม่เกี่ยว)

และรู้สึกเศร้าในเวลาเดียวกัน...
เคยคิดกันไหม ว่าการรอคอยใครสักคนหนึ่งมันต้องใช้ปัจจัยใด มันต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหน...
มันคงทรมานพอสมควรกับการที่ต้องรอคนที่เราไม่รู้ว่าเมื่อไร...เขาจะกลับมา
แต่ก็ยังมีความสุขอยู่บ้างเพราะเชื่อ...ว่ายังไง เขาต้องกลับมา...

ฉันคิดไม่ออกว่าถ้าฉันเจอปีเตอร์ในเวลาที่ตัวเองรู้จักกับเพื่อนคนใหม่อยู่ จะเป็นยังไง...
ฉันคิดไม่ออกว่าถ้าฉันเป็นปีเตอร์ แล้วมาเห็นทะเลสนิทสนมกับใครอีกคนในแบบที่เขาเองก็เคยเป็นสนิท... ฉันจะเป็นยังไง

ทะเลอาจคิดถึงปีเตอร์ในวัยเด็ก.. แต่ไม่ได้คิดว่าตอนโต ปีเตอร์จะเป็นยังไง
ทะเลอาจคิดถึงเรื่องราวเก่าๆ ในวันวาน แต่ไม่ได้คิดว่าถ้าจะมาเจอกันในอนาคต จะเป็นยังไง...
ทะเลอาจยึดมั่นกับคำสัญญาของปีเตอร์ เชื่อว่าเขาจะกลับมาเพราะเขาเคยสัญญา ...อาจเป็นแค่การยึดติด... หรือไม่เธอก็อาจไม่ได้รอปีเตอร์จริงๆ

แต่...ม่ายยยยยยยย ฉันไม่เชื่อหรอก -*-
ฉันว่าทะเลต้องรอปีเตอร์จริงๆ รอมานานขนาดนั้น มันต้องไม่ธรรมดาสิ -0-

...บางครั้ง ผลของการรอคอยอาจทำให้แม้แต่ตัวเราเองยังตกใจ...
...บางครั้ง แม้ว่าเราจะเฝ้ารอเขาอยู่ทุกวัน แต่พอได้เจอ เรากลับไม่คาดคิด...
ทั้งที่เชื่อว่าเขาจะกลับมา...อาจเพราะ เรารอเขานาน มันนานจนเราเลิกคิดไปแล้วว่าเขาจะมาเมื่อไร แทนที่ด้วยความรู้สึกที่ว่า ...เขาต้องกลับมา แค่เชื่อว่าเขาจะมา... ก็พอ

ฉันจะหยุดคิดว่า ถ้าตัวเองเป็นทะเล จะทำยังไง แต่ฉันจะเอาใจช่วยทะเลต่อไป

และฉันก็เชื่อ... ว่าความทรงจำอันงดงามระหว่างเธอและเขาจะยังคงกรุ่นอยู่ในใจคนอ่านตลอดไป

...รักทะเล

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หนังสือ เป็นมุมมองความคิดของคนที่เรียงร้อยถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร... หนังสือเล่มนั้นอาจเป็นนวนิยาย วรรณกรรม เรื่องสั้น หรือสารคดี หนังสือทุกเล่มล้วนมีเสน่ห์ในตัวของมัน
หนังสือต่อยอดจินตนาการของคนไปได้กว้างไกล
ฉันชอบหนังสือ ชอบซื้อ ชอบอ่าน ชอบยืม(และไม่คืน) และยังชอบเขียนอีกด้วย แน่นอนว่าการเขียนกับหนังสือเป็นของคู่กัน (ฉันหมายถึง..ถึงจะเป็นอย่างนั้น แต่บางคนก็ชอบอ่าน กลับไม่ชอบเขียน บางคนชอบเขียน กลับอ่านไม่เก่ง) แต่คนส่วนใหญ่ เมื่ออ่านหนังสือมากๆ ก็เริ่มเก็บกด ทำให้เกิดความรู้สึกอยากเขียนออกมาบ้าง (ระบายอารมณ์เป็นตัวหนังสือนั่นเอง) เหมือนกับฉัน ยิ่งอ่าน ยิ่งมีอารมณ์อยากเขียน ฉันชอบเขียนบันทึก เป็นการเขียนที่ออกแนวเขียนเพื่อตัวเอง เป็นการเขียนที่เป็นตัวของตัวเองที่สุด สมมุติว่าใครเผลอเปิดบันทึกของฉันอ่าน เขาหรือเธอจะค้นพบว่าฉันยังมีมุมลึกลับและยังเก็บซ่อนเอาไว้อีกมาก ในบันทึกมีแต่ธาตุแท้ของตัวเองเต็มไปหมด -*- ฉันว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ฉันได้ขีดๆ เขียนๆ ฉันจะได้ไม่เก็บอะไรต่อมิอะไรไว้กับตัว(รวมถึงหัวใจ)มากเกินไป ฉันจะได้ระบายมันออกไปบ้าง เพียงแต่บางครั้งฉันก็รู้สึกทึ่งในตัวเองเหลือเกิน ฉันสารภาพอะไรมากมายในบันทึก แต่กลับไม่เคยกล้าพูดมันออกไปในชีวิตจริง มันคงเป็นลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของพวกชอบเขียน ...เขียนได้เขียนดี อาจไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง...
หนังสือมีหลากหลายประเภท แต่ฉันจะโปรดปรานหนังสือที่มีเนื้อหาเศร้าๆ เป็นพิเศษ ฉันไม่ใช่พวกเสพติดความเศร้าแต่อย่างใด เพียงแต่ฉันคิดว่าอารมณ์เศร้าในหนังสือมันลึกซึ้งดี ฉันหลงใหลถ้อยคำพวกนั้น และฉันว่า ...มันบาดลึกไปถึงหัวใจดี